วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

ดอกไม้ประจำจังหวัด ปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี
ชื่อสามัญ Nelumbo nucifera
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nymphaea lotus Linn.
วงศ์ NYMPHACACEAE
ชื่ออื่น บุณฑริก, สัตตบงกช
ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า
สภาพที่เหมาะสม ดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด
ถิ่นกำเนิด แถบทวีปเอเซีย เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย
ในปี ๒๔๙๔ นักพฤกษศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ได้ค้นพบซากเรือแคนูยุคหินใหม่ (NEOLITHIC) ลำหนึ่งใกล้ๆ กับกรุงโตเกียว ในเรือลำนั้นมีซากของใบไม้ทับถมอยู่ เมื่อขุดคุ้ยลงไป ได้พบเมล็ดของบัวหลวง ๓ เมล็ด ฝังไว้อย่างดี และยังมีความสมบูรณ์มาก สร้างความฉงนให้นักพฤกษศาสตร์ในอายุของเมล็ดบัวเป็นอย่างยิ่ง เมื่อนำไปทดสอบ ปรากฏว่ามีอายุมากกว่า ๒,๐๐๐ ปี เมื่อความสมบูรณ์ของเมล็ดมีอยู่มาก พอนำมาทดลองเจาะดู เพียง ๔ วัน ความมหัศจรรย์พลันปรากฏขึ้น เมล็ดทั้งสามแตกงอกขึ้นเป็นต้น จากนั้นกล้าอ่อนได้รับความทะนุถนอมอย่างดี ๑๔ เดีอนฝานไป ดอกบัวหลวงจากต้นที่งอกมาจากเมล็ดอันเก่าแก่ได้เบ่งบานสวยงามตระการตา ไม่ผิดแผกจากดอกบัวหลวงที่ขึ้นในปัจจุบัน
บัวหลวงเป็นพืชน้ำที่มีความสำคัญยิ่ง โดยถือว่าเป็นราชินีแห่งพื้นน้ำที่มีความงามและประโยชน์นานัปการ นอกจากความสำคัญูทางพฤกษชาติแล้ว บัวหลวงยังมีความสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา ทั้งสัญลักษณ์และอามิสบูชา
ในทางพฤกษศาสตร์ บัวหลวงอยู่ในวงศ์ NYMPHAE- ACEAE มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า NELUMBO NUCI- FERA GAERIN หรือมีชื่อเรียกว่า SACRED LOTUS มีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน ตั้งแต่ดอกที่มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ มีกลีบซ้อนกันเล็กน้อย หรีอมีเกสรตัวผู้ที่มีรูปร่างดั่งกลีบซ้อนกันนับร้อย
บัวหลวงมีถิ่นกำเนิดในแถบร้อนและอบอุ่น พบได้ตามแหล่งน้ำทั่วโลก โดยทั่วไปแล้วดอกบัวหลวงจะมีสีขาวหรือชมพู อาจจะอมส้ม หรืออมมวงบ้าง
กล่าวกันว่าในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีบัวหลวงพันธุ์หนึ่ง ออกดอกสีขาว แต่ไม่มีหลักฐานยีนยันแน่นอน บัวหลวงสีขาวมีชื่อเรียกว่า บุณฑริก ส่วนสีชมพูมีนามว่าปทุมปัทมา
หรีอโกกระณต ส่วนพันธุ์ที่มีกลีบพร้อมทั้งมีเกสรดัวผู้บางส่วน ลักษณะคล้ายกลีบนับร้อยสีชมพุอมม่วงเรียกว่า สัตตบงกช หรือบัวฉัตรชมพู ส่วนสีขาวเรียกว่า สัตตบุษย์ หรีอบัวฉัตรขาว นอกจากความงดงามที่ตรึงตาแลัวบัวหลวงยังมีกลิ่นหอมละมุน
มนุษย์ได้รู้จักคุณค่าอันมีประโยชน์และสรรพคุณด้านยาสมุนไพรของบัวหลวงมาช้านานแล้ว ในการประกอบอาหาร ส่วนของใบนำเป็นภาชนะ และสร้างกลิ่นหอมหวลให้กับอาทาร เช่น ข้าวห่อใบบัว ใบอ่อนรับประทาน เช่นผักชนิดหนึ่งกับเครื่องจิ้ม เมล็ดจากฝักบัวทั้งสดและแห้ง นำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน ส่วนรากเทง้านำมาต้มเป็นเครื่องดื่ม
สรรพคุณด้านสมุนไพร เมล็ดบัวบำรุงรักษาประสาทและไต หรือแม้อาการท้องร่วงหรือบิดเรื้อรัง ดีบัวหรือต้นอ่อนที่อยู่ในเมล็ดมีสีเขียวเข้ม ใช้เป็นส่วนผสมของยาแผนโบราณ พบว่าตัวยามีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อทัวใจ เกสรตัวผู้เมื่อตากแห้งใช้เป็นส่วนผสมของยาไทย-จีนหลายชนิด เช่น ยาลม ยาหอม หรือแม้แต่ยานัตถุ์ นอกจากนี้ยังนำมาต้มน้ำดี่ม ก้านใบและก้านดอกนำมาทำยาเเก้ท้องร่วง ส่วนของรากหรือเหง้านำมาต้มน้ำใช้แก้ร้อนในกระหายน้ำ พร้อมทั้งมีสรรพคุณห้ามเลีอด จึงเห็นได้ว่าประโยชน์ทางสมุนไพรของบัวหลวงมีอยู่มาก
นอกจากเป็นสมุนไพรแล้วบัวหลวงยังใช้ประโยชน์ในทางอี่น เช่น กลีบแห้งใช้มวนบุหรี่ในอดีต เรียกว่า บุหรี่กลีบบัว ใบแก่นำมาตากแห้งใช้เป็นส่วนผสมของยากันยุง เปลือกบัวนำมาเป็นวัสดุในการปลูกเห็ดชนิดหนึ่งเรียกว่า เห็ดบัว
ในทางแห่งพระพุทธศาสนา ดอกบัวหลวงมีความสำคัญเกี่ยวข้องอยู่หลายประการกว่า ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบปัญญาขาแห่งบุคคลที่สามารถรู้และเข้าใจธรรมะ เพื่อความหลุดพ้น ๔ จำพวกด้วยกัน ดอกบัว ๔ เหล่านี้เปรียบได้กับดอกบัวที่ตั้งพ้นน้ำ รอสัมผัสแสงอาทิตย์ก็จะบานในวันนี้ คือผู้รู้เข้าใจธรรมะได้ฉับพลันตั้งแต่ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง ดอกบัวประเภทที่ ๒ ดั่งดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ จักบานในวันรุ่งขึ้น เฉกผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อท่านได้ขยายความแห่งธรรมะนั้น ประเภทต่อมาคือดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำยังไม่โผล่พ้นน้ำ จักบานในวันด่อ ๆ ไป คือผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้เพื่อเข้าใจในธรรมะ ประเภทสุดท้ายคีอ ดอกบัวที่จมอยู่ในน้ำ กลายเป็นภักษาหารแห่งปลาและเต่าคือผู้ที่ได้แค่ตัวบทหรีอถ้อยคำเท่านั้น ไม่อาจจะเข้าใจความหมายรู้ในธรรมะได้
ดอกบัวหลวง สำหรับชาวพุทธถือว่ามีความสำคัญที่เป็นอามิสบูชา เกี่ยวข้องโดยตรงสำหรับการบูชาพระรัตนตรัย อันได้แก่พระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์
บัวหลวงจึงมีความสาคัญในแง่ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร และความรู้สึกทางจิตใจของมนุษย์มาช้านาน

สร้าง: 21 ธันวาคม 2553 20:24 ·แก้ไข: 21 ธันวาคม 2553 20:24
ดอกไม้: 0 · ความเห็น: 6 · อ่าน: 177 · สร้าง: ประมาณ 1 ปี ที่แล้ว

Loykrathong ทำไมกระทงส่วนใหญ่เป็นรูปดอกบัว

โพสต์เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2010 โดย คุณ patra
ทำไมกระทงส่วนใหญ่เป็นรูปดอกบัว ในการ ลอยกระทง
ในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือตำนานนางนพมาศ ซึ่งเป็นพระสนมเอกของพระมหาธรรมราชาลิไทยหรือพระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย ได้กล่าวถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองว่าเป็นเวลาเสด็จประพาสลำน้ำตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน และได้มีรับสั่งให้บรรดาพระสนมนางในทั้งหลายตกแต่งกระทงประดับดอกไม้ธูปเทียนนำไปลอยน้ำหน้าพระที่นั่ง ในคราวนั้นท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือนางนพมาศ พระสนมเอกก็ได้คิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัวกมุทขึ้น ด้วยเห็นว่าเป็นดอกบัวพิเศษที่บานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้งในวันดังกล่าว สมควรทำเป็นกระทงแต่งประทีป ลอยไปถวายสักการะรอยพระพุทธบาท ซึ่งเมื่อพระร่วงเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นก็รับสั่งถามถึงความหมาย นางก็ได้ทูลอธิบายจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย พระองค์จึงมีพระราชดำรัสว่า “ แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับ กษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน ๑๒ ให้นำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน ” ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นโคมลอยรูปดอกบัวปรากฏมาจนปัจจุบัน
ตำนานและความเชื่อ
จากที่กล่าวมาข้างต้นว่า การลอยกระทง ในแต่ละท้องที่ก็มาจากความเชื่อ ความศรัทธาที่แตกต่างกัน บางแห่งก็มีตำนานเล่าขานกันต่อๆมา ซึ่งจะยกตัวอย่างบางเรื่องมาให้ทราบ ดังนี้

เรื่องแรก ว่ากันว่าการลอยกระทง มีต้นกำเนิดมาจากศาสนาพุทธนั่นเอง กล่าวคือก่อนที่พระพุทธองค์จะตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา กาลวันหนึ่ง นางสุชาดาอุบาสิกาได้ให้สาวใช้นำข้าวมธุปายาส (ข้าวกวน/หุงด้วยน้ำผึ้งหรือน้ำอ้อย) ใส่ถาดทองไปถวาย เมื่อพระองค์เสวยหมดแล้ว ก็ทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า ถ้าหากวันใดจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ก็ขอให้ถาดลอยทวนน้ำ ด้วยแรงสัตยาธิษฐานและบุญญาภินิหาร ถาดก็ลอยทวนน้ำไปจนถึงสะดือทะเล แล้วก็จมไปถูกขนดหางพระยานาคผู้รักษาบาดาล พระยานาคตื่นขึ้น พอเห็นว่าเป็นอะไร ก็ประกาศก้องว่า บัดนี้ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกอีกองค์แล้ว ครั้นแล้วเทพยดาทั้งหลายและพระยานาคก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และพระยานาคก็ได้ขอให้พระพุทธองค์ประทับรอยพระบาทไว้บนฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เพื่อพวกเขาจะได้ขึ้นมาถวายสักการะได้ พระองค์ก็ทรงทำตาม ส่วนสาวใช้ก็นำความไปบอกนางสุชาดา ครั้นถึงวันนั้นของทุกปี นางสุชาดาก็จะนำเครื่องหอมและดอกไม้ใส่ถาดไปลอยน้ำเพื่อไปนมัสการรอยพระพุทธบาทเป็นประจำเสมอมา และต่อๆมาก็ได้กลายเป็นประเพณีลอยกระทงตามที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
ในเรื่องการประทับรอยพระบาทนี้ บางแห่งก็ว่า พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าไปแสดงธรรมเทศนาในนาคพิภพ เมื่อจะเสด็จกลับ พญานาคได้ทูลขออนุสาวรีย์จากพระองค์ไว้บูชา พระพุทธองค์จึงได้ทรงอธิษฐานประทับรอยพระบาทไว้ที่หาดทรายแม่น้ำนัมมทา และพวกนาคทั้งหลายจึงพากันบูชารอยพระพุทธบาทแทนพระองค์ ต่อมาชาวพุทธได้ทราบเรื่องนี้จึงได้ทำการบูชารอยพระบาทสืบต่อกันมา โดยนำเอาเครื่องสักการะใส่กระทงลอยน้ำไป
ส่วนที่ว่าลอยกระทงในวันเพ็ญ เดือน ๑๑ หรือวันออกพรรษา เพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับมาสู่โลกมนุษย์ หลังการจำพรรษา ๓ เดือน ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงอภิธรรมโปรดพุทธมารดานั้น ก็ด้วยวันดังกล่าว เหล่าทวยเทพและพุทธบริษัทพากันมารับเสด็จนับไม่ถ้วน พร้อมด้วยเครื่องสักการบูชา และเป็นวันที่พระพุทธองค์ได้เปิดให้ประชาชนได้เห็นสวรรค์และนรกด้วยฤทธิ์ของพระองค์ คนจึงพากันลอยกระทงเพื่อเฉลิมฉลองรับเสด็จพระพุทธเจ้า
สำหรับคติที่ว่า การลอยกระทงตามประทีปเพื่อไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น ก็ว่าเป็นเพราะตรงกับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จออกบรรพชาที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ทรงใช้พระขรรค์ตัดพระเกศโมลีขาดลอยไปในอากาศตามที่ทรงอธิษฐาน พระอินทร์จึงนำผอบแก้วมาบรรจุ แล้วนำไปประดิษฐานไว้ในจุฬามณีเจดีย์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (ตามประทีป คือ การจุดประทีป หรือจุดไฟในตะเกียง /โคม หรือผาง-ถ้วยดินเผาเล็กๆ) ซึ่งทางเหนือของเรามักจะมีการปล่อยโคมลอย หรือโคมไฟที่เรียกว่า ว่าวไฟ ขึ้นไปในอากาศเพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีด้วย
เรื่องที่สอง ตามตำราพรหมณ์คณาจารย์กล่าวว่า พิธีลอยประทีปหรือตามประทีปนี้ แต่เดิมเป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ทำขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าทั้งสามคือ พระอิศวร พระนารายณ์และพระพรหม เป็นประเภทคู่กับลอยกระทง ก่อนจะลอยก็ต้องมีการตามประทีปก่อน ซึ่งตามคัมภีร์โบราณอินเดียเรียกว่า “ ทีปาวลีโดยกำหนดทางโหราศาสตร์ว่าเมื่อพระอาทิตย์ถึงราศีพิจิก พระจันทร์อยู่ราศีพฤกษ์เมื่อใด เมื่อนั้นเป็นเวลาตามประทีป และเมื่อบูชาไว้ครบกำหนดวันแล้ว ก็เอาโคมไฟนั้นไปลอยน้ำเสีย ต่อมาชาวพุทธเห็นเป็นเรื่องดี จึงแปลงเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทและการรับเสด็จพระพุทธเจ้าดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยมักถือเอาเดือน ๑๒ หรือเดือนยี่เป็งเป็นเกณฑ์ (ยี่เป็งคือเดือนสอง ตามการนับทางล้านนา ที่นับเดือนทางจันทรคติ เร็วกว่าภาคกลาง ๒ เดือน)
เรื่องที่สาม เป็นเรื่องของพม่า เล่าว่า ครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงมีพระประสงค์จะสร้างเจดีย์ให้ครบ ๘๔,๐๐๐ องค์ แต่ถูกพระยามารคอยขัดขวางเสมอ พระองค์จึงไปขอให้พระอรหันต์องค์หนึ่ง คือ พระอุปคุตช่วยเหลือ พระอุปคุตจึงไปขอร้องพระยานาคเมืองบาดาลให้ช่วย พระยานาครับปากและปราบพระยามารจนสำเร็จ พระเจ้าอโศกมหาราชจึงสร้างเจดีย์ได้สำเร็จสมพระประสงค์ ตั้งแต่นั้นมา เมื่อถึงวันเพ็ญ เดือน ๑๒ คนทั้งหลายก็จะทำพิธีลอยกระทงเพื่อบูชาคุณพระยานาค เรื่องนี้ บางแห่งก็ว่า พระยานาคก็คือพระอุปคุตที่อยู่ที่สะดือทะเล และมีอิทธิฤทธิ์มาก จึงปราบมารได้ และพระอุปคุตนี้เป็นที่นับถือของชาวพม่าและชาวพายัพของไทยมาก
เรื่องที่สี่ เกิดจากความเชื่อแต่ครั้งโบราณในล้านนาว่า เกิดอหิวาต์ระบาดที่อาณาจักรหริภุญชัย ทำให้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่ไม่ตายจึงอพยพไปอยู่เมืองสะเทิมและหงสาวดีเป็นเวลา ๖ ปี บางคนก็มีครอบครัวอยู่ที่นั่น ครั้นเมื่ออหิวาต์ได้สงบลงแล้ว บางส่วนจึงอพยพกลับ และเมื่อถึงวันครบรอบที่ได้อพยพไป ก็ได้จัดธูปเทียนสักการะพร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคดังกล่าวใส่ สะเพา ( อ่านว่า “ สะ – เปา หมายถึง สำเภาหรือกระทง ) ล่องตามลำน้ำเพื่อระลึกถึงญาติที่มีอยู่ในเมืองหงสาวดี ซึ่งการลอยกระทงดังกล่าวจะทำในวันยี่เพง คือ เพ็ญเดือนสิบสอง เรียกกันว่า การลอยโขมด แต่มิได้ทำทั่วไปในล้านนา ส่วนใหญ่เทศกาลยี่เพงนี้ ชาวล้านนาจะมีพิธีตั้งธัมม์หลวง หรือการเทศน์คัมภีร์ขนาดยาวอย่างเทศน์มหาชาติ และมีการจุดประทีปโคมไฟอย่างกว้างขวางมากกว่า(การลอยกระทง ที่ทางโบราณล้านนาเรียกว่า ลอยโขมดนี้ คำว่า “ โขมด อ่านว่า ขะ-โหฺมด เป็นชื่อผีป่า ชอบออกหากินกลางคืนและมีไฟพะเหนียงเห็นเป็นระยะๆคล้ายผีกระสือ ดังนั้น จึงเรียกเอาตามลักษณะกระทงที่จุดเทียนลอยในน้ำ เห็นเงาสะท้อนวับๆแวมๆคล้ายผีโขมดว่า ลอยโขมด ดังกล่าว)
เรื่องที่ห้า กล่าวกันว่าในประเทศจีนสมัยก่อน ทางตอนเหนือเมื่อถึงหน้าน้ำ น้ำจะท่วมเสมอ บางปีน้ำท่วมจนชาวบ้านตายนับเป็นแสนๆ และหาศพไม่ได้ก็มี ราษฎรจึงจัดกระทงใส่อาหารลอยน้ำไป เพื่อเซ่นไหว้ผีเหล่านั้นเป็นงานประจำปี ส่วนที่ลอยในตอนกลางคืน ท่านสันนิษฐานว่า อาจจะต้องการความขรึมและขมุกขมัวให้เห็นขลังเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับผีๆสางๆ และผีก็ไม่ชอบปรากฏตัวในตอนกลางวัน การจุด เทียนก็เพราะหนทางไปเมืองผีมันมืด จึงต้องจุดให้แสงสว่างเพื่อให้ผีกลับไปสะดวก ในภาษาจีนเรียกการลอยกระทงว่า ปล่อยโคมน้ำ ( ปั่งจุ๊ยเต็ง ) ซึ่งตรงกับของไทยว่า ลอยโคม

จากเรื่องข้างต้น เราจะเห็นได้ว่า การลอยกระทง ส่วนใหญ่จะเป็นการแสดงความกตัญญูระลึกถึงผู้มีพระคุณต่อมนุษย์ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า พระแม่คงคา และบรรพชน เป็นต้น และแสดงความกตเวที (ตอบแทนคุณ) ด้วยการเคารพบูชาด้วยเครื่องสักการะต่างๆ โดยเฉพาะการบูชาพระพุทธเจ้าหรือรอยพระพุทธบาท ถือได้ว่าเป็นคติธรรมอย่างหนึ่ง ที่บอกเป็นนัยให้พุทธศาสนิกชนได้เจริญรอยตามพระบาทของพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามทั้งปวงนั่นเอง
ประเพณีลอยกระทง นอกจากจะเป็นประเพณีที่มีคุณค่าในเรื่องการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณดังที่กล่าวมาแล้ว ประเพณีนี้ยังมีคุณค่าต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสานาด้วย เช่น ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน ทำให้ชุมชนได้ร่วมมือร่วมใจกันจัดงาน หรือในบางท้องที่ที่มีการทำบุญก็ถือว่ามีส่วนช่วยสืบทอดพระศาสนา และในหลายๆแห่งก็ถือเป็นโอกาสดีในการรณรงค์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแม่น้ำลำคลองไปด้วย
ทั้งหมดที่กล่าวมาคงจะทำให้ท่านได้รู้จักคุณค่า สาระและเรื่องราวเกี่ยวกับ ประเพณีลอยกระทง มากขึ้น และหวังว่า ลอยกระทง ปีนี้ นอกจากความสนุกสนานแล้ว คงจะมีความหมายแก่ท่านทั้งหลายเพิ่มขึ้นด้ว

บัวที่พบและนิยมปลูกในประเทศไทย มาจาก 3 สกุล คือ


  • บัวหลวง (lotus) เป็นบัวในสกุล Nelumbo มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า ปทุมชาติ หรือบัวหลวง
  • บัวผัน, บัวสาย (waterlily) เป็นบัวในสกุล Nymphaea มีลำต้นใต้ดินเป็นหัว หรือเหง้า ใบและดอกเกิดจากตาหรือหน่อที่เจริญขึ้นมาที่ผิวน้ำด้วยก้านส่งใบและยอด
  • บัววิกตอเรีย (Victoria) เป็นบัวในสกุล Victoria มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า บัวกระด้ง จัดเป็นบัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด

.. 2551 ค้นพบสายพันธุ์บัวสายพันธุ์ใหม่ของโลกที่พิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี ได้ตั้งชื่อว่า "ธัญกาฬ" และ "รินลอุบล" [1]

ดอกบัวดอกไม้งามที่คนไทย นิยมนำมาใช้บูชาพระและผูกพันกับวิถีไทยมาช้านาน ความงามของดอกบัวดูเพียงเผิน สามารถมองหาความงามได้โดยง่ายดาย ทว่าน้อยคนนักที่รับรู้ความจริงว่า ดอกบัวสายพันธุ์ต่าง ๆที่ต่างเหล่าต่างกอนั้น กว่าจะผุดจากใต้น้ำ มาเป็นบัวปริ่มน้ำ กระทั่งชูช่อเหนือน้ำมีที่มาน่าสนใจไม่น้อย


ดอกบัวพันธุ์ดี ดอกงามที่ผุดพ้นผิวน้ำมาชูช่อแสดงความงามให้ยลความงามอย่างเด่นชัดนั้น หากเจาะลึกข้อมูลแบบเชิงลึก นักพฤกษศาสตร์แบ่งสกุลดอกบัวเป็น 3 สกุล คือ


1.บัวหลวงหรือปทุมชาติ บัวสกุลนี้คนไทยนิยมนำไปไหว้พระ และนำรากทำอาหาร


2.บัวฝรั่ง บัวผัน บัวเผื่อน บัวสายและจงกลนี ซึ่งแยกเป็น 2 ชนิด คือ บัวบานกลางวันได้แก่ บัวฝรั่ง บัวเผื่อนและบัวผันซึ่งเป็นดอกบัวที่มีกลิ่นหอมมาก ส่วนบัวบานกลางคืนคือ บัวสาย


3 คือ สกุลบัวกระด้งหรือบัววิคตอเรีย


คุณพราว-นาวาอากาศตรีหญิง ปริมลาภ วสุวัต ชูเกียรติมั่น บุตรสาวของ ดร.เสริมลาภ วสุวัต แห่งแหล่งเพาะพันธุ์บัว ปางอุบล ได้บอกเคล็ดลับการดูประเภทของบัวแบบกว้างๆ จากการดูใบบัวไว้ว่าถ้าขอบใบเรียบกริบเหมือนตัดกระดาษ นั่นคือ บัวกลางวัน หรือ บัวฝรั่ง บัวเผื่อนและบัวผัน โดยจะบานราวๆ 11 โมงเช้า แล้วไปหุบราวๆ บ่าย 2 ส่วนบัวกลางคืน หรือ บัวสาย จะมีขอบใบจัก จะบานราวๆ 6 โมงเย็น ถึง 1 ทุ่ม แล้วไปหุบตอนสายๆ ของอีกวันค่ะบัวแต่ละสายพันธุ์มีที่มาแห่งความงามต่างกัน






ดอกบัวฉลองขวัญ หรือ คิง ออฟสยาม เป็นบัวสกุลบัวผัน ที่เกิดความงามได้เพราะความสามารถของคุณชัยพล ธรรมสุวรรณ ที่นำเกสรของไดเรกเตอร์ จี.ที.มอร์ ( Director G.T.Moore) มาผสมกับทองสุก เมื่อปี 2542 แล้วนำไปปลูกยังดินแดนต่างประเทศจนได้ชื่อภาษาอังกฤษว่า คิง ออฟ สยามฉลองขวัญ ความงามเด่นอยู่ด้วยที่สีสันม่วงน้ำเงิน ดอกมีกลีบซ้อนกันมากและไร้เกสรเพศผู้






"ไจเกนเตีย อัลเบิร์ต เดอ ลาสแตงดอกบัวสกุลบัวผัน เกิดขึ้นจาก ความตั้งใจของ ดร. เสริมลาภ วสุวัต นำสายพันธุ์ Nymphaea gigantean ประเทศออสเตรเลีย มาปลูกที่ ปางอุบล เมื่อปี 2537 คุณสมบัติงามเด่นอยู่ที่ รูปทรงของดอกสูง ใหญ่ ดอกขาว กลีบพลิ้วหวาน



บัวฝรั่ง เฮลโวล่า หรือ ปิ๊กมี่เยล โลว์ หรือเยล โลว์ปิ๊กมี่ คัดเลือกโดย Mr.Latour Marliac ชาวฝรั่งเศสและดร. เสริมลาภ วสุวัต นำมาปลูกที่ปางอุบลตั้งแต่ปี 2523 ความสวยงามชวนเตะตา คือดอกของบัวชนิดนี้มีขนาดเล็กประมาณ เหรียญ10 บาท โทนสีเหลือง ดอกค่อนข้างดก ดอกจะบานตอนสายๆ พอช่วงบ่ายๆ แก่จะหุบ



ไมอามี่โรสเป็นดอกบัวผันอีกพันธุ์หนึ่งที่ ดร.เสริมลาภ วสุวัต นำบัวสายพันธุ์นี้ที่ได้รับมาจากเพื่อนชาวอเมริกาชื่อ Mr.Garet Uemura เมื่อปี 2549 มาทดลองปลูกที่ปางอุบล ดอกบัวสายพันธุ์มีความงามต้องตาตรงที่ดอกเป็นสีชมพู แดงสด กลีบซ้อนฟู มีดอกตลอดปี



มิส สยามเป็นบัวฝรั่งสัญชาติไทยแจ้งเกิดโดยฝีมือของคุณไพรัตน์ ทรงพานิช ที่ใช้ฝีมือผสมเกสรและคัดเลือกพันธุ์ ความโดดเด่นต้องยกให้สีสันของดอกที่มีสีชมพูสด คลอบคลุมถึงกลีบดอกที่ซ้อนกันจำนวนมาก เวลาบานรูปทรงจะสวยงาม



มังคลอุบลเป็นบัวฝรั่งสัญชาติไทย ดอกมีสีส้มแสด ดอกออกตลอดทั้งปี บัวชนะเลิศการประกวดบัวโลกเมื่อปี 2543 เป็นบัวฝรั่งสัญชาติไทย มีปรับตัวแล้วดอกจะออกตลอดทั้งปี มีดอกใหญ่ เติบโตง่าย ผลงานความงามของดอกบัวสายพันธุ์นี้เกิดขึ้นได้เพราะการผสมเกสรและคัดเลือกของ ดร. นพชัย ชาญศิลป์


นางกวักสีโอลด์โรสบัวสกุลบัวผันมีชนิดหนึ่งที่แปรพันธุ์จากบัวพันธุ์พื้นเมือง กับนางกวักของประเทศอินเดียที่ดร. เสริมลาภ วสุวัต คัดเลือกไว้ศึกษา เนื่องจากสีสันของบัวมีความสวยหวาน แต่ไม่ยอมแตกต้นอ่อน ปัจจุบันที่ปางอุบล มีเพียงแค่ต้นเดียว







นภาเพ็ญเป็นลูกผสมปล่อยของบัวสายที่ คุณเฑียรชัย เฑียรเดชสกุล คัดเลือกและเผยแพร่เมื่อปี 2550 ความงามเฉพาะตัวของดอกบัวพันธุ์อยู่ที่ สีกลีบดกขาวอมชมพูอ่อน ทรงดอกรูปถ้วย ด้วยรัศมีแห่งความงามที่ยากหาบัวสายใดมาเทียม ส่งผลให้ได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานประเภทบัวสาย งานประชุมบัวนานาชาติเฉลิมพระเกียรติประจำปี 2550 สวนหลวง .9 มาครอง



พิงก์ ริบบอนบัวฝรั่งสัญชาติไทย ที่คุณไพรัตน์ ทรงพานิช ผสมเกสรและคัดเลือกจากบัวฝรั่งพันธุ์ Mayla Perry fire opal ความงามที่มองเห็นชัดเจนของพิงก์ ริบบอนคือ กลีบดอกบัวสีชมพูสดซ้อนกันมาก ความงามของดอกบัวนี้เข้าตา สมาชิกสมาคม Water Gardener International (WGI) คัดเลือกให้เป็นบัวงามอย่างมีคุณค่า จำหน่ายเพื่อนำรายได้ส่วนหนึ่ง บริจาคเพื่อส่งเสริมกิจกรรมรณรงค์ต่อสู้มะเร็งทรวงอกมาแล้ว







ปิยลาภบัวสาย พันธุ์ลูกผสมปล่อยของ บัวแม่พลอย ที่ปางอุบลคัดเลือกพันธุ์โดย ดร.เสริมลาภ วสุวัต เมื่อปี 2541 และนำความงามแสดงสู่สายตาสาธารณะชน เมื่อปี 2544 ความงามที่น่ามองของบัวปิยลาภอยู่ที่ สีกลีบดอกออกโทนหวานสะดุดด้วยสีชมพูสด และรูปทรงดอกเป็นรูปถ้วย




โรจนอุบลบัวสายพันธุ์ลูกผสมปล่อยที่ คุณไพรัตน์ ทรงพานิช คัดเลือกพันธุ์ มีเสน่ห์เย้ายวนตา สีกลีบดอกแดงสด สม่ำเสมอทั้งกลีบ ส่วนรูปทรงดอกสวยงามด้วยทรงรูปถ้วย



แทนขวัญบัวฝรั่งสัญชาติไทย ฝีมือของคุณไพรัตน์ ทรงพานิช ที่ทำให้บัวสายพันธ์ชูช่อเด่นเหนือน้ำได้สำเร็จ เมื่อปี 2549 สีแดงสดใส และกลับดอกบัวที่เรียงซ้อนจำนวนมาก รวมถึงรูปทรงยามเป็นดอกบัวบานอวดความสวยงามเทียบรัศมีกับดอกบัวชนิดอื่นได้ไม่แพ้กัน



แทนพงศ์บัวฝรั่งอีกหนึ่งความงามที่คุณไพรัตน์ ทรงพานิช ได้มาจากการผสมเกสรและคัดเลือกพันธุ์เมื่อปี 2549 ประกายความงามของดอกบัวประเภทนี้ คือรูปทรงที่สวยงาม เมื่อบานครั้งใด ผู้คนต้องจิตกับความงามสีสันของกลีบดอกบัว ที่ไล่โทนสีจากกลีบดอกบัวชั้นในจากสีแดงสดใส เป็นสีชมพูอ่อนในส่วนของกลีบดอกบัวชั้นนอก



"รินลอุบล" เป็นบัวลูกผสมเปิดเกิดขึ้นภายในพิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ ผศ.ภูรินทร์ อัครกุลธร คัดเลือกไว้ในปี 2550 และเผยแพร่ความงามของ รินลอุบล ในปี 2551 รินลอุบล มีใบอ่อนเป็นรูปไข่ หน้าใบสีเขียว มีแถบสีน้ำตาล หลังใบสีเขียว มีกระสีน้ำตาลแดงเข้มทั่วไป ใบแก่มีสีเช่นเดียวกับใบอ่อน ดอกตูมโคนดอกโคนกว้างปลายเรียว มีจุดกระปลายเข็มสีน้ำตาล ดอกบานสีกลีบดอกปลายกลีบมีสีชมพู เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 12-18 .. กลิ่นหอมเล็กน้อย



"ธัญกาฬ" เป็นบัวกลุ่มสายเขตร้อน เป็นลูกผสมปล่อยของบัวสายในพิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโยลีราชมงคลธัญญบุรี ที่ ผศ. ภูรินทร์ อัครกุลธร ได้คัดเลือกในปี 2549 เผยโฉมความของดอกบัวเมื่อปี 2550 หลังคว้ารางวัลรองชนะเลิศถ้วยพระราชทานประเภทบัวสาย งานประชุมบัวนานาชาติเฉลิมพระเกียรติประจำปี 2550 สวนหลวง . 9




ธัญกาฬ ยามเป็นดอกบัวตูมทรงดอกค่อนข้างเรียวยาว สีแดงเหลือบเขียวที่โคนดอก ส่วนช่วงกลางคืนซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดอกบาน ช่วงนั้นหากได้ชมจะเห็นประกายความงามของดอกบัวชนิดนี้ โดยเฉพาะสีกลีบดอก ออกสีแดงเหลือบม่วง บริเวณขอบกลีบทั้ง 2 ข้าง กลีบเลี้ยงด้านในมีสีแดงชมพู ด้านนอกมีสีน้ำตาลมีขีดเส้น 5 ทรงดอกบานแผ่ครึ่งวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอก 12-15 .. การให้ดอกจะทยอยออกดอกตามกันบานอยู่ 3 วัน